เมนู

บทว่า ปฏภาเฌยฺยกา มีความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยไหวพริบใน
ศิลปะของตน.
บทว่า ทกฺขา เป็นผู้ฉลาดหรือเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน.
บทว่า ปริโยทาตสิปฺปา ได้แก่ ผู้มีศิลปะหาโทษมิได้.
บทว่า นาฬิยาวาปเกน ได้แก่ ทะนานและถึง. มีคำอธิบายว่า
ชนทั้งหลายย่อมกรอก คือ ย่อมใส่ข้าวสารที่ได้แล้ว ๆ ในภาชนะใด ภาชนะ
นั้น ชื่อ อาวาปกะ แปลว่า ถุง.
วินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว นหาปิตปุพฺเพน ขุรภณฺฑํ นี้พึง
ทราบดังนี้:-
ภิกษุผู้เคยเป็นช่างโกนผม ไม่ควรเก็บรักษามีดโกนไว้เลย แต่จะปลง
ผมด้วยมีดโกนเป็นของผู้อื่น ควรอยู่. ถ้าจะถือเอาค่าจ้างปลงไม่ควร. ภิกษุใด
ไม่เคยเป็นช่างโกนผม แม้ภิกษุนั้นจะรักษามีดโกนไว้ ย่อมควร; ถึงแม้จะถือ
เอามีดโกนเล่มนั้นหรือเล่มอื่นปลงผม ก็ควร.
สองบทว่า ภาคํ ทตฺวา มีความว่า พึงให้ส่วนที่ 10. ได้ยินว่า
การให้ส่วนที่ 10 นี้ เป็นธรรมเนียมเก่า ในชมพูทวีป เพราะเหตุ นั้น พึง
แบ่งเป็น 10 ส่วนแล้ว ให้แก่พวกเจ้าของที่ดินส่วนหนึ่ง.

มหาปเทส 4


เพื่อประโยชน์ที่ภิกษุทั้งหลายจะได้ถือไว้เป็นแบบ พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสมหาปเทส (คือ หลักสำหรับอ้างใหญ่) 4 ข้อเหล่านั้น ว่า ยํ ภิกฺขเว
มยา อิทํ น กปฺปติ
เป็นต้น.
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อถือเอาสูตรสอบสวนดูในมหา-
ปเทสนั้น ได้เห็นความข้อนี้ว่า.
ด้วยพระบาลีว่า ฐเปตฺวา ธญฺญผลรสํ นี้ ธัญญชาติ 7 ชนิด
เป็นอันห้ามแล้วว่า ไม่ควรในปัจฉาภัต. มหาผล 9 อย่าง คือ ผลตาล ผล